ผลการเรียนรู้ยุววาณิช
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
รหัสวิชา ง 30290 ชื่อวิชา ยุววาณิช
ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นปีที่ 1 - 3
ครูผู้สอน ดรุณี กันธมาลา
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม SMEs
-
มาตรฐานการเรียนรู้ สาระที่ ๕ : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ
1. มาตรฐาน ง ๕.๑ : ใช้เทคโนโลยีในการทำงาน การผลิต การออกแบบ การแก้ปัญหา การสร้างงาน การสร้างอาชีพสุจริตอย่างมีความเข้าใจ มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และมีความคิดสร้างสรรค์
2. ตัวชี้วัด ง 5.1
-
วิเคราะห์ผลการเรียนรู้
-
ด้านความรู้
มีความรู้เบื้องต้น ในเรื่องความหมาย ลักษณะ วัตถุประสงค์ ประโยชน์ ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs ในชีวิตประจำวัน
-
ด้านคุณลักษณะ
มีแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มุ่งมั่นในการทำงาน มีความ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มีจิตสาธารณะ รักความเป็นไทย รักชาติศาสน์ กษัตริย์ อยู่อย่างพอเพียง
3. ด้านทักษะ
มีทักษะที่จำเป็นมีประสบการณ์ ในการคิดหาคำตอบในเรื่อง ความหมาย ลักษณะ วัตถุประสงค์ ประโยชน์ ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs ในชีวิตประจำวัน
4. ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs
2. อธิบายความหมาย ลักษณะ วัตถุประสงค์ ประโยชน์ของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs ได้
-
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs ในชีวิตประจำวันได้
จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียน
-
มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs
-
อธิบายความหมาย ลักษณะ วัตถุประสงค์ ประโยชน์ของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs ได้
-
คุณสมบัติของผู้ประกอบการใหม่ และการเริ่มต้นธุรกิจ
-
แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs ในชีวิตประจำวันได้
สาระสำคัญ (องค์ความรู้)
ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับ ความหมาย ลักษณะ วัตถุประสงค์ ประโยชน์ ธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs ในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพต่อไป
เนื้อหาสาระ
-
ความหมาย ลักษณะ วัตถุประสงค์ ประโยชน์ของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs
-
คุณสมบัติของผู้ประกอบการใหม่ และการเริ่มต้นธุรกิจ
-
ปัญหาเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs
ความรู้เกี่ยวกับ การจัดการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
Small and Medium Enterprises
SMEs ย่อมาจากภาษาอังกฤษ Small and Medium Enterprises หรือแปลเป็นภาษาไทยว่า 'วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม'
สำหรับความหมายของวิสาหกิจ (Enterprises) ครอบคลุมกิจการ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก่
1. กิจการการผลิต (Production Sector) ครอบคลุมการผลิตในภาคเกษตรกรรม (Agricultural Processing) ภาคอุตสาหกรรม(Manufacturing) และเหมืองแร่(Mining)
2. กิจการการค้า (Trading Sector) ครอบคลุมการค้าส่ง (Wholesale) และการค้าปลีก (Retail)
3. กิจการบริการ (Service Sector)
ส่วนลักษณะขนาดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กำหนดจากมูลค่าชั้นสูงของสินทรัพย์ถาวร สำหรับกิจการแต่ละประเภท ดังนี้
|
ขนาดกลาง
|
ขนาดย่อม
|
1. กิจการการผลิต
|
ไม่เกิน 200 ล้านบาท
|
ไม่เกิน 50 ล้านบาท
|
2. กิจการบริการ
|
ไม่เกิน 200 ล้านบาท
|
ไม่เกิน 50 ล้านบาท
|
3. กิจการการค้า
|
|
|
|
- ค้าส่ง
|
ไม่เกิน 100 ล้านบาท
|
ไม่เกิน 50 ล้านบาท
|
|
- ค้าปลีก
|
ไม่เกิน 60 ล้านบาท
|
ไม่เกิน 30 ล้านบาท
|
ส่วนลักษณะขนาดของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กำหนดจากจำนวนการจ้างงาน สำหรับกิจการ
แต่ละประเภท ดังนี้
|
ขนาดกลาง
|
ขนาดย่อม
|
1. กิจการการผลิต
|
ไม่เกิน 200 คน
|
ไม่เกิน 50 คน
|
2. กิจการบริการ
|
ไม่เกิน 200 คน
|
ไม่เกิน 50 คน
|
3. กิจการการค้า
|
|
|
|
- ค้าส่ง
|
ไม่เกิน 50 คน
|
ไม่เกิน 25 คน
|
|
- ค้าปลีก
|
ไม่เกิน 30 คน
|
ไม่เกิน 15 คน
|

ความสำคัญของ SMEs ต่อระบบเศรษฐกิจ
SMEs คือ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นวิสาหกิจที่มีความเหมาะสม มีความคล่องตัวในการปรับ
สภาพให้เข้ากับสถานการณ์ทั่วไปของประเทศอีกทั้งยังเป็นวิสาหกิจที่ใช้เงินทุนในจำนวนที่ต่ำกว่าวิสาหกิจขนาดใหญ่ และยังช่วยรองรับแรงงานจากภาคเกษตรกรรมเมื่อหมดฤดูกาลเพาะปลูก รวมถึงเป็นแหล่งที่สามารถรองรับแรงงานที่เข้ามาใหม่เป็นการป้องกนการอพยพของแรงงานเข้ามาหางานทำในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ซึ่งช่วยกระจายการกระจุกตัวของโรงงานกิจการวิสาหกิจในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลไปสู่ภูมิภาค ก่อให้เกิดการพัฒนาความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งในส่วนภูมิภาคและของประเทศอย่างยั่งยืนต่อไป

กล่าวโดยสรุป SMEs มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ คือ
1. ช่วยการสร้างงาน
2. สร้างมูลค่าเพิ่ม
3. สร้างเงินตราต่างประเทศ
4. ช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศ โดยการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
5. เป็นจุดเริ่มต้นในการลงทุน และสร้างเสริมประสบการณ์
6. ช่วยเชื่อมโยงกับกิจกรรมขนาดใหญ่ และภาคการผลิตอื่น ๆ เช่น ภาคเกษตรกรรม
7. เป็นแหล่งพัฒนาทักษะฝีมือ
ปัญหาเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งพอจะสรุปได้ 8 ประการใหญ่
1. การขาดซึ่งจิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ (Lack of Entreprenuership) การเป็นผู้ประกอบการจะต้องมีคุณสมบัติหลายประเภท เช่น ความเป็นผู้นำ การกล้าได้กล้าเสีย ต้องเป็นนายของตัวเอง การรักความท้าทาย รักความเป็นอิสระ มีระเบียบวินัยในตัวเองสูง
2. การจัดการและการบริหารไม่มีประสิทธิภาพ ความสามารถในด้านการจัดการองค์กร การเงิน การบัญชี การตลาด บุคลากร ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของ SMEs
3. การขาดบุคลากรหรือผู้เชี่ยวชาญธุรกิจ SMEs มักจะเริ่มต้นจากความถนัดหรือความชำนาญเฉพาะด้านของผู้ประกอบการ นั้นตั้งแต่เริ่มก่อตั้งและดำเนินต่อไป จนกว่าจะเริ่มเข้าที่เข้าทาง
4. การขาดแรงงานทีมีฝีมือแรงงานที่มีฝีมือ (Skilled Worker) คือจุดเริ่มต้นของคุณภาพสินค้า ซึ่งพนักงานทีมีฝีมือจะต้องได้รับการฝึกฝน ดังนั้นฝู้ประกอบการรายใหม่จึงต้องสร้างและสงวนแรงงานเหล่านี้ให้ได้
5. ต้นทุนการผลิตสูงการจัดการที่ไม่ดี การผลิตที่ขาดประสิทธิภาพ ไม่มีการใช้เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีเข้ามาช่วยจะทำ ให้ต้นทุนของสินค้าสูง ซึ่งนำไปสู่การเสียเปรียบในเชิงการค้ากับคู่แข่ง
6. การแข่งขันสูงสภาพการเศรษฐกิจและแข่งขันในปัจจุบัน เป็นสาเหตุให้เกิดการแข่งขันกันสูงมากเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจของตนเอง ดังนั้นผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่เข้ามาในตลาดที่มีการแข่งขันกันสูง จึงมีความยากลำบากในการดำเนิน ธุรกิจ
7. ประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่ำการบริหารจัดการการผลิตไม่เหมาะสม ทำให้เกิดสูญเสียในการผลิต ผลผลิตต่ำ ไม่ได้ มาตรฐาน ซึ่งนำไปสู่สินค้าไม่มีคุณภาพและไม่สามารถแข่งขันได้
8. ปัญหาของระบบราชการก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่ทั่วไปว่า ปัญหาด้านเอกภาพและการประสานงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ในการส่งเสริมพัฒนา SMEs ก็ต้องมีความสำคัญด้วย ดังนั้นเมื่อเราได้ทราบปัญหาหลักของธุรกิจ SMEs แล้ว ก็จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหา และนำไปสู่การพัฒนาต่อไป
กลยุทธ์ของเจ้าของกิจการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
เถ้าแก่ใหม่สำหรับ SMEs เถ้าแก่ใหม่หรือผู้ประกอบการอิสระ หรือ เจ้าของกิจการรายใหม่ กำลังเป็นที่สนใจของทั้งภาครัฐและเอกชน โดยยอมรับกันว่า เถ้าแก่ใหม่นั้นจะเป็นรากฐานสำคัญของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยเถ้าแก่ใหม่จะเป็นผู้ที่มองเป็นโอกาสและช่องทางต่างๆแล้วสร้างธุรกิจของตนอย่างสร้างสรรค์ และจะเป็นผู้ที่เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสหรือจะมองในแง่ของ ' ช่วงภาวะแห่งอันตราย คือ โอกาส'
คุณสมบัติขั้นต่ำ 7 ประการสำหรับ เถ้าแก่ใหม่
1. ต้องเป็นนักแสวงหาโอกาส
ต้องมองเห็น ' โอกาส' แม้ตกอยู่ในภาวะวิกฤติ โดยมองเห็นโอกาสแล้วหยิบฉวยขึ้นได้อย่างเหมาะสม ไม่ใช่มองเห็นโอกาสแล้วไม่มีความสามารถหรือไม่กล้า นั่นถือว่า ' เสียของ '
2. ต้องเป็นนักเสี่ยง
ต้องกล้าเสี่ยงที่จะลุยเข้าไปเลย เพราะการที่จะเป็นเถ้าแก่นั่นคือ คุณจะมีโอกาสทั้งขาดทุน และกำไร นั้นคือสิ่งที่คุณ จะได้รับ ความเป็นนักเสี่ยงนั้นไม่ใช่ทำแบบบ้าบิ่นหรือไม่มีหลักการและเหตุผลเอาซะเลย
3. ต้องมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
เป็นคุณสมบัติที่สำคัญสำหรับเถ้าแก่ใหม่ เพราะการที่จะเข้าไปแข่งขันกับเถ้าแก่เดิมหรือสินค้าที่มีอยู่ในตลาดนั้นจำเป็น จะต้องมีความคิดใหม่ๆ และสร้างสรรค์ แต่ไม่ใช่เพ้อฝันในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
4. ต้องไม่ท้อถอยง่าย
เถ้าแก่ใหม่จะต้องมี 'ความอึด' โดยเฉพาะเริ่มแรกของการทำธุรกิจใหม่ๆ ความมุมานะไม่ย่อท้อความลำบาก และมุ่งมั่น ที่จะให้ธุรกิจที่ตนสร้างนั้นประสบความสำเร็จ และหวังที่จะเก็บดอกออกผลในอนาคต
5. ต้องใฝ่รู้เสมอ
เถ้าแก่ใหม่จะต้องมีความตื่นตัว ใฝ่หาความรู้เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และปรับเปลี่ยนเข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้ดี และยังเป็นการปรับปรุงงานต่างๆด้วย
6. ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล
โดยจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ว่าจะไปไหนและมีแนวทางในการดำเนินการอย่างไร คล้ายกับยิงธนูจะต้องเหนี่ยว ยิงลูกธนูนั้นให้ถูกทิศทางและเป้าหมายนั่นเอง
7. ต้องมีเครือข่ายที่ดี
เถ้าแก่ใหม่มีเครือข่ายที่ดีจะหมายถึง มีคนชี้แนะ สนับสนุนมาก มีแหล่งข้อมูลมาก และรวมไปถึงเพื่อน หรือญาติพี่น้องที่จะช่วยเหลือ
โดยคุณสมบัติดังกล่าว ไม่ใช่คุณสมบัติที่จะต้องมีมาแต่กำเนิด เราทุกคนสามารถมีได้ และพัฒนาขึ้นมาได้แต่ต้องใช้เวลา นี่ไม่ใช่พรสวรรค์ แต่ เป็นพรแสวงที่ตัวคุณเองเท่านั้นที่จะแสวงหาสิ่งนั้นด้วยตัวคุณเอง ถ้าไม่เชื่อ คุณลองไปถามเถ้าแก่เก่าที่ประสบความสำเร็จมาแล้วในอดีตแรงกดดันที่ทำให้ SMEs ต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ปัญหาของอุตสาหกรรมไทยที่ผ่านมามีหลายประการ เช่นด้านการผลิต การจัดการบริหาร แหล่งเงินทุน การตลาด แรงงาน คุณภาพสินค้า และเทคโนโลยีเป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านั้นทำให้อุตสาหกรรมขาดความสามารถในการทำกำไร
' แรงกดดัน 4 C ' เป็นแรงกดดันหลักที่ทำให้ ธุรกิจ SMEs เกิดการปรับตัวครั้งใหญ่
1. Customer (ลูกค้า) โดยลูกค้ามีความต้องการที่หลากหลาย มีการเรียกร้องที่ไม่รู้จบ เนื่องจากเป็นตลาดของ ผู้ซื้อ มีสินค้าในตลาดมากมาย หรือเมื่อลูกค้าได้ยินสินค้าใหม่หรือมีสิ่งใหม่ที่ไม่ซ้ำซาก ซึ่งอาจรวามถึงราคาที่
ดึงดูดใจด้วย ดังนั้น SMEs ต้องตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าให้ทันการณ์ โดยมีการวิเคราะห์ลูกค้า อยู่เสมอ
2. Competition (การแข่งขัน) สภาพการแข่งขันในตลาดเสรีนอกจากจะเพิ่มทั้งจำนวนและขนาดแล้ว คู่แข่งจะ มีทั้งสินค้าทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งสินค้าเหล่านั้นจะรวมไปถึง สินค้านำเข้า สินค้าหนีภาษี และ สินค้าที่ทุ่มตลาดด้วยการลดราคาเป็นต้น SMEs จึงต้องพยายามคิดเสมอว่า คู่แข่งของเราผลิตสินค้าที่ดีกว่า ถูกกว่า และให้บริการเร็วกว่า เพื่อที่เราจะได้มีการตื่นตัวและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มากกว่านั้นเราจะต้องพยายามรักษาฐานลูกค้าเดิม และสร้างสรรค์ฐานลูกค้าใหม่ด้วย
3. Cost (ต้นทุน) การลดต้นทุนการผลิต (Cost Reduction) เป็นเรื่องที่ SMEs ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากต้นทุนการผลิตสูง ราคาขายของสินค้าหรือบริการก็จะสูงไปด้วยทำให้เสียความสามารถในการแข่งขันและยังทำให้ความสามารถในการทำกำไรลดลงไปด้วย อย่างไรก็ตามก็ต้องคำนึงถึงคุณภาพของสินค้าเช่นเดียวกัน
4. Crisis มีคำกล่าวว่า ' ยามศึกเรารบ ยามสงบเราฝึก' ซึ่งก็คือการที่เรามีการเตรียมความพร้อมไว้สำหรับเหตุการณ์ร้ายแรงที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ก่อน ซึ่งจะเป็นการป้องกันล่วงหน้า เราจะมีทางหนีทีไร่อย่างไร มากกว่านั้น ยังเป็นการปรับตัวและยืดหยุ่นตามวิกฤติเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดีและเร็วทันท่วงที ดังนั้น การที่มีจิตนึกในการจัดการวิกฤติการณ์(Crisis Management) จะสอนเราให้เป็น'นักป้องกันและแก้ปัญหา' ไม่ใช่ 'นักผจญเพลิง'
ดังนั้น SMEs จะต้องเปิดหูเปิดตาเพื่อให้ทันกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ปัญหาและข้อจำกัดของ SMEs ในภาพรวม
1. ปัญหาด้านการตลาด SMEs ส่วนใหญ่มักตอบสนองความต้องการของตลาดในท้องถิ่น หรือตลาดภายในประเทศ ซึ่งยังขาดความรู้ความสามารถในด้านการตลาดในวงกว้าง โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศ ขณะเดียวกันความสะดวกรวดเร็วในการคมนาคมขนส่งตลอดจนการเปิดเสรีทางการค้า ทำให้วิสาหกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันกับสินค้าในท้องถิ่นหรือในประเทศที่ผลิตโดยกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้น
2. ขาดแคลนเงินทุน SMEs มักประสบปัญหาการขอกู้เงินจากสถาบันการเงิน เพื่อมาลงทุนหรือขยายการ
ลงทุนหรือเป็นเงินทุนหมุนเวียนทั้งนี้เนื่องจากไม่มีการทำบัญชีอย่างเป็นระบบและขาดหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ทำให้ต้องพึ่งพาเงินกู้นอกระบบ และต้องจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูง
3. ปัญหาด้านแรงงาน แรงงานที่ทำงานใน SMEs จะมีปัญหาการเข้าออกสูง กล่าวคือ เมื่อมีฝีมือและมีความชำนาญมากขึ้นก็จะย้ายออกไปทำงานในโรงงานขนาดใหญ่ที่มีระบและผลตอบแทนที่ดีกว่า จึงทำให้คุณภาพของแรงงานไม่สม่ำเสมอการพัฒนาไม่ต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพสินค้า
4. ปัญหาข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีการผลิต โดยทั่วไป SMEs มักใช้เทคนิคการผลิตไม่ซับซ้อนเนื่องจากการ
ลงทุนต่ำและผู้ประกอบการ/พนักงานขาดความรู้พื้นฐานที่รองรับเทคนิควิชาที่ทันสมัยจึงทำให้ขาดการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ตลอดจนการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานที่ดี
5. ข้อจำกัดด้านการจัดการ SMEs มักขาดความรู้ในการจัดการหรือการบริหารที่มีระบบใช้ประสบการณ์จาก
การเรียนรู้ โดยเรียนถูกเรียนผิดเป็นหลักอาศัยบุคคลในครอบครัวหรือญาติพี่น้องมาช่วยงานการบริหารภายในลักษณะนี้แม้จะมีข้อดีในเรื่องการดูแลที่ทั่วถึง (หากธุรกิจไม่ใหญ่นัก) แต่เมื่อกิจการเริ่มขยายตัวหากไม่ปรับปรุงการบริหารจัดการให้มีระบบก็จะเกิดปัญหาเกิดขึ้นได้
6. ปัญหาการเข้าถึงบริการการส่งเสริมของรัฐ SMEs จำนวนมากเป็นการจัดตั้งกิจการที่มีรูปแบบไม่เป็น
ทางการ เช่น ผลิตตามบ้านผลิตในลักษณะโรงงานท้องแถวไม่มีการจดทะเบียนโรงงาน ทะเบียนพาณิชย์ หรือทะเบียนการค้าดังนั้นกิจการโรงงานเหล่านี้ จึงค่อนข้างปิดตัวเองในการเข้ามาใช้บริการของรัฐ เนื่องจากปฏิบัติไม่ค่อยถูกต้องเกี่ยวกับการเสียภาษี การรักษาสภาพสิ่งแวดล้อม หรือรักษาความปลอดภัยที่กำหนดตามกฎหมาย นอกจากนี้ในเรื่องการส่งเสริมการลงทุนก็เช่นเดียวกัน แม้ว่ารัฐจะได้ลดเงื่อนไขขนาดเงินทุนและการจ้างงาน เพื่อจูงใจให้ SMEsเพียง 8.1 % เท่านั้นที่มีโอกาสได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากรัฐ
7. ปัญหาข้อจำกัดด้านบริการส่งเสริมพัฒนาขององค์การภาครัฐและเอกชน การส่งเสริมพัฒนา SMEs
ที่ผ่านมาได้ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมส่งเสริมการส่งออก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลอดจนสมาคมการค้าและอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมมีจำนวนมากและกระจายอู่ทั่วประเทศ ประกอบกับข้อจำกัดของหน่วยงานดังกล่าว เช่น ในเรื่องบุคลากร งบประมาณ จำนวนสำนักงานสาขาภูมิภาคการให้บริการส่งเสริมสนับสนุนด้านต่าง ๆ จึงไม่อาจสนองตอบได้ทั่วถึงและเพียงพอ
8. ปัญหาข้อจำกัดในการรับรู้ข่าวสารข้อมูล เนื่องจากปัญหาและข้อจำกัดต่าง ๆ ข้างต้น SMEs โดยทั่วไป
จึงค่อนข้างมีจุดอ่อนในการรับรู้ข่าวสารด้านต่าง ๆ เช่น นโยบายและมาตรการของรัฐ ข้อมูลข่าวสารด้านการตลาด ฯลฯ
ผลกระทบต่อ SMEs
จากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตั้งแต่กลางปี 2540 ซึ่งเริ่มจากสถาบันการเงินก่อนจะลุกลามไปสู่ธุรกิจ
เกือบทุกสาขาทั้งกิจการขนาดใหญ่และขนาดเล็กล้วนได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นด้วยกันทั้งสิ้น
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นภาคการผลิตที่แท้จริงก็ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน กลุ่ม SMEs ล้วนประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้อำนาจซื้อการบริโภคของประชาชนลดน้อยลงเป็นผลให้กิจการ SMEs ต้องชะลอหรือลดการผลิต การจำหน่ายหรือถึงขึ้นปิดกิจการไปในที่สุด
โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ กลุ่ม SMEs ที่เป็นการรับช่วงการผลิตจากกลุ่มอุตสาหกรรมสนับสนุน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ใช้เทคโนโลยีพึ่งพาจากต่างประเทศ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น ส่วนกลุ่ม SMEs ที่พึ่งพาตนเองได้และมักจะใช้ภูมิปัญญาไทยเป็นพื้นฐานมาจากครอบครัวจะสามารถดำรงธุรกิจอยู่ได้ เนื่องจากกลุ่มนี้จะมีความคล่องตัวในเรื่องการจัดการ เทคนิคการผลิต การจำหน่าย ซึ่งมักจะมีความยืดหยุ่นในการปรับตัว เพื่อรับมือกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจได้ดีกว่า กลุ่ม SMEs ที่รับช่วงการผลิตจากบริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และขนากลาง แต่อย่างไรก็ตามกลุ่ม SMEs โดยทั่วไปก็ยังได้รับผลกระทบจากอำนาจซื้อและการบริโภคที่น้อยลงของประชาชน และมีปัญหาคือสภาพคล่องทางการเงิน ที่กระจายไปทั่วระบบเศรษฐกิจ
หากภาครัฐไม่ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ ผู้ประกอบการ SMEs เหล่านี้ก็จะทยอยปิดกิจการไปเรื่อย ๆ กระทั่ง
กลายเป็นปัญหาเรื้อรังทางเศรษฐกิจและส่งผลต่อปัญหาสังคมในที่สุด
pirun.ku.ac.th/.../ความรู้เกี่ยวกับ%20SMEs%20เบื้องต้น.doc
ความหมายของธุรกิจ SMEs หรือ ธุรกิจขนาดย่อม
ธุรกิจ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิต การจำหน่าย และการบริการ ธุรกิจ SMEs หรือ ธุรกิจขนาดย่อม หมายถึง ธุรกิจที่เป็นอิสระมีเอกชนเป็นเจ้าของ ดำเนินการโดยเจ้าของเอง ไม่เป็นเครื่องมือของธุรกิจใดไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคลหรือธุรกิจอื่น มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำและมีพนักงานจำนวนไม่มาก
ความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อม
1. ธุรกิจขนาดย่อม ช่วยในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อมช่วยให้เกิดการกระจายรายได้จากกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจไปสู่กลุ่มคนต่าง ๆ ทำให้เกิดการจ้างงานและประชาชน มีรายได้ ซึ่งเป็นตัวช่วยให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น
2. ธุรกิจขนาดย่อม เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจขนาดใหญ่เพราะความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจขนาดย่อมทำให้ธุรกิจมั่นคงมียอดการผลิตที่สูงขึ้น และมีการนำเทคโนโลยีที่สูงขึ้นมาใช้ในการผลิตซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นฐานไปสู่ธุรกิจขนาดใหญ่
3. ธุรกิจขนาดย่อม เป็นแหล่งผลิตสินค้าใหม่ ๆ เป็นการรวมกลุ่มของบุคคลร่วมกันคิดและผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาด โดยที่ธุรกิจขนาดใหญ่ไม่กล้าเสี่ยงต่อการลงทุน
http://lovesfahh.blogspot.com/2012/06/1-smes.html
คุณสมบัติของผู้ประกอบการใหม่ และการเริ่มต้นธุรกิจ
การมีกิจการสักอย่างเป็นของตนเองอาจเป็นความใฝ่ฝันของใครหลายคน แต่คนล่าฝันจำนวนไม่น้อยกลับก้าวพลาดอย่างน่าเสียดาย เพราะมัวแต่ใส่ใจองค์ประกอบภายนอกมากกว่าองค์ประกอบภายในซึ่งใกล้ตัวมากที่สุดนั่นคือ 'คุณสมบัติส่วนตัว'
คุณสมบัติส่วนตัวของเจ้าของกิจการถือเป็นส่วนสำคัญเพราััะสามารถนำไปปรับใช้ต่อยอดธุรกิจได้ อีกทั้งยังเป็นเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จในการทำกิจการของบุคคลนั้นได้ค่อนข้างสูง ซึ่งคุณสมบัติเบื้องต้นที่สำคัญของผู้อยากเริ่มกิจการตัวเองมีดังต่อไปนี้
1. ดูว่าตนเองเป็นคนนิสัยอย่างไร เหมาะกับการทำงานแบบไหน
หากอยากให้กิจการประสบความสำเร็จในอนาคต คุณสมบัติแรกที่เจ้าของกิจการควรมีคือการ 'รู้จักตนเอง' รู้ว่าสิ่งไหนคือสิ่งที่ตนเองต้องการ สิ่งไหนใช่ สิ่งไหนไม่ใช่ สำรวจความต้องการในจิตใจของตนเองเสียก่อนว่าลึกๆ แล้วอะไรคือความต้องการพื้นฐานที่เรามองหาอยู่อย่างแท้จริง นอกจากนี้แล้วการรู้จักตนเองยังหมายถึงการเข้าใจว่าตัวเองมีบุคลิกภาพและนิสัยอย่างไร เช่น บางคนวาดฝันอยากทำกิจการเกี่ยวกับทำบริษัทโฆษณา แต่กลับล้มเหลวอย่างไม่เป็นท่า เพราะอุปนิสัยใจคอเป็นคนอารมณ์ร้อนโกรธง่าย ไม่เหมาะกับการวงการโฆษณาซึ่งเราต้องคอยเอาใจลูกค้าตลอดเวลา
2. ความรู้คือคุณสมบัติพื้นฐานสำคัญที่สุดซึ่งผู้คิดอยากสร้างกิจการของตนเองจำเป็นต้องมี เพราะความรู้เปรียบเสมือนใบเบิกทางในการริเริ่มสร้างกิจการให้ประสบความสำเร็จ โดยความรู้ที่สำคัญที่เจ้าของกิจการควรมีประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการทำกิจการและความรู้เฉพาะทางเกี่ยวกับกิจการที่จะทำ ซึ่งความรู้ที่ดีคือสิ่งที่สามารถนำมาปรับใช้ในการบริหารกิจการได้อย่างเหมาะสมและมีประโยชน์ นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่สามารถแสวงหาได้ตลอดเวลา จึงไม่เป็นปัญหาหากผู้ที่ต้องการจะเริ่มประกอบกิจการไม่มีความรู้และประสบการณ์ในบางเรื่องมาก่อน เพราะสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมและค่อยๆ เรียนรู้ได้
3. สิ่งต่างๆ บนโลกล้วนได้มีผู้ทดลองทำมาหมดแล้ว ดังนั้นผู้มีความคิดสร้างสรรค์จึงค่อนข้างจะได้เปรียบในการเริ่มสร้างกิจการแนวใหม่ขึ้นมา เพราะเราสามารถนำความคิดสร้างสรรค์มาเพิ่มความน่าสนใจให้กับกิจการได้ อีกทั้งยังอาจสร้างกระแสดึงดูดกลุ่มลูกค้าให้เข้ามาทดลองซื้อสินค้าและบริการของเรามากขึ้น แต่หากเราทำสินค้าและบริการแบบเดิมๆ ก็อาจต้องเสียเงินค่าโฆษณามากมายโดยเช่นเหตุ อาจถือได้ว่าความคิดสร้างสรรค์อาจเป็นการโฆษณาตัวเองเลยก็เป็นได้ ดังนั้นหากมีไอเดียสร้างสรรค์เด็ดๆ ก็อย่าเก็บไว้คนเดียว ควรทำมาพัฒนาต่อยอดกิจการจะดีกว่า 4.ความกล้าทำอะไรแปลกใหม่ก็อาจนำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆเช่นเดียวกัน
ความกล้าในที่นี้หมายถึงความกล้าในเรื่องการตัดสินใจลงมือทำในเรื่องต่างๆ เพราะในโลกของธุรกิจมีการแข่งขันสูงและไม่มีใครยอมใคร ผู้มีความกล้าเท่านั้นจึงจะสามารถอยู่รอดได้ในการทำกิจการ ทั้งเรื่องของความกล้าตัดสินใจในเรื่องแนวทางการทำธุรกิจที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน อาทิ ความกล้าในการแจกซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือฟรีของบริษัทผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือรายหนึ่งจนกลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่และยังสร้างฐานลูกค้าได้เป็นจำนวนมากอีกด้วย นอกจากนี้ความเป็นผู้นำยังมีส่วนสำคัญสำหรับเจ้าของกิจการเช่นกัน เพราะจะช่วยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเกิดความศรัทธาและความน่าเชื่อถือซึ่งจะเป็นผลดีต่อระบบปกครองภายในบริษัท และจะกลายมาเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินกิจการในที่สุด
5.การที่กิจการจะประสบความสำเร็จได้ส่วนหนึ่งต้องมาจากตัวเจ้าของกิจการเองมีใจรักในสิ่งดังกล่าวเสียก่อน ความรักในสิ่งที่ทำจะช่วยให้เจ้าของกิจการพยายามศึกษาหาความรู้เพื่อนำมาพัฒนาสร้างสรรค์ต่อยอดกิจการของตนเองให้ออกมาดีที่สุด โดยปราศจากความเหน็ดเหนื่อยและเบื่อหน่ายซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้กิจการไม่อาจเจริญก้าวหน้า
6.กิจการที่ล้มเหลวจำนวนมากมักมีสาเหตุมาจากการขาดความพยายามและอดทนของตัวเจ้าของกิจการเอง หลายครั้งหลายโอกาสเราต้องอาศัยความพยายามอดทนมากเป็นพิเศษ อาทิ การขายงานให้ลูกค้า การขายสินค้าและบริการให้ผู้บริโภค หากปราศจากซึ่งความอดทนแล้วละก็ สิ่งต่างๆ เหล่านี้คงเป็นเรื่องยากที่จะประสบความสำเร็จ
7.เพราะธุรกิจคือเรื่องของการใช้เงิน ดังนั้นหากคิดริเริ่มทำกิจการ เจ้าของกิจการควรต้องมีคุณสมบัติประหยัดอยู่บ้างไม่มากก็น้อย หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่าใช้เงินเป็น เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้เราสามารถควบคุมดูแลให้ใช้จ่ายเฉพาะสิ่งจำเป็นจริงๆ เท่านั้น ทั้งยังเป็นการสร้างรูปแบบการบริหารเงินในองค์กรและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้องในการเบิกใช้เงินกองกลางด้วย
8.ธุรกิจคือการแข่งขันกันตลอดเวลา คุณสมบัติเรื่องไหวพริบและปฏิภาณจึงเป็นสิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เจ้ากิจการจำเป็นต้องมี ผู้มีไหวพริบเป็นเลิศและช่างสังเกตจะรู้ว่าเวลาไหนคือโอกาสเปิดเกมรุกเพิ่มยอดขาย เวลาไหนมีโอกาสเพลี่ยงพล้ำต่อคู่แข่ง หรือควรถอยห่างและรีบหาทางออกให้กิจการของตนเอง เจ้าของกิจการที่ดีควรมีไหวพริบเพื่อช่วยให้กิจการสามารถอยู่รอดปลอดภัยต่อไปได้
9.เงินทุนเป็นสิ่งสำคัญมากที่ผู้ประกอบการต้องมี ถือเป็น 1 ใน 10 ของคุณสมบัติจำเป็นของผู้ประกอบการเลยด้วย หากกิจการใดขาดไร้ซึ่งเงินทุนแล้วละก็ กิจการนั้นก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้ หรือหากเกิดขึ้นแล้วก็อาจขาดสภาพคล่องในการบริหารเงิน ทั้งนี้ผู้ประกอบการอาจไม่จำเป็นต้องมีเงินทุนครบตามจำนวนมูลค่าของกิจการที่ต้องการสร้างก็ได้ ขอเพียงแต่ให้มีเงินทุนจำนวนหนึ่งบ้างเท่านั้น ส่วนเงินที่ขาดไปก็สามารถกู้ยืมจากแหล่งเงินทุนอย่างธนาคารก็ได้ เพียงแต่ว่าผู้ประกอบการซึ่งมีเงินทุนพร้อมอยู่แล้วจะได้เปรียบในบางเรื่อง อย่างเช่น การขอกู้เงินจากธนาคาร ทางธนาคารอาจพิจารณาให้วงเงินกู้กับผู้ประกอบการซึ่งมีเงินทุนมากกว่าเพราะมีความเสี่ยงเรื่องหนี้สูญน้อยกว่าผู้ประกอบการที่ไม่มีเงินทุนเลย
10.คุณสมบัตินี้คือคุณสมบัติเบื้องต้นอย่างสุดท้ายที่เจ้าของกิจการขั้นเริ่มต้นพึงมี การมีผู้สนับสนุนโดยเฉพาะบุคคลรอบข้างจะช่วยในด้านกำลังใจในการทำงาน นอกจากนี้ยังอาจได้รับความช่วยเหลือเรื่องเงินทุนเมื่อเกิดภาวะขาดสภาพคล่อง คำแนะนำเมื่อเกิดปัญหา และำยังอาจได้ฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ผ่านการแนะนำจากกลุ่มคนที่ให้การสนับสนุนเราก็เป็นได้
การสำรวจคุณสมบัติเบื้องต้นที่เจ้าของกิจการหน้าใหม่พึงมีก่อนเริ่มลงมือสร้างกิจการถือว่ามีความจำเป็นมาก เพราะหากเราขาดคุณสมบัติใดคุณสมบัติหนึ่งไปอาจเปรียบเสมือนมีช่องโหว่และจุดอ่อน แต่นั้นก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่เกินแก้ไข หากเราต้องมีความเพียรพยายามให้มากขึ้นกว่าเดิม ขยันใฝ่รู้และฝึกฝนตนเองเพื่อเติมเต็มช่องว่างนั้นให้เต็มก่อนจะเริ่มสร้างกิจการในฝันของตัวเองให้เป็นความจริง

ขอบคุณข้อมูล http://madi.myreadyweb.com/article/category-49781.html