กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
รหัสวิชา ง 30290 ชื่อวิชา ยุววาณิช
ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นปีที่ 1 - 3
ครูผู้สอน ดรุณี กันธมาลา
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง คุณลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจ
-
มาตรฐานการเรียนรู้ สาระที่ ๕ : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานและอาชีพ
1. มาตรฐาน ง ๕.๑ : ใช้เทคโนโลยีในการทำงาน การผลิต การออกแบบ การแก้ปัญหา การสร้างงาน การสร้างอาชีพสุจริตอย่างมีความเข้าใจ มีการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และมีความคิดสร้างสรรค์
2. ตัวชี้วัด ง 5.1
-
ตัวชี้วัด ง 4.1 ม. 4/1 ง 4.1 ม. 4/2 ง 4.1 ม. 4/3 ง 4.1 ม. 4/4
วิเคราะห์ผลการเรียนรู้
-
ด้านความรู้
คุณลักษณะ คุณสมบัติ ของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs
-
ด้านคุณลักษณะ
มีแนวทางในงานอาชีพ ใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาอาชีพ มุ่งมั่นในการทำงาน มีความ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มีจิตสาธารณะ รักความเป็นไทย รักชาตศาสน์ กษัตริย์ อยู่อย่างพอเพียง
6. ด้านทักษะ
มีทักษะที่จำเป็นมีประสบการณ์ ในการคิดหาคำตอบในเรื่อง คุณลักษณะ คุณสมบัติ ของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs
7. ด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
1. บอกบุคลิกภาพและคุณลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs
2. บอกคุณสมบัติ อุดมการณ์ กลยุทธ์ ของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs
-
มีเจตคตที่ดีต่อการประกอบการธุรกิจ
จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียน
1. บอกบุคลิกภาพและคุณลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs
2. บอกคุณสมบัติ อุดมการณ์ กลยุทธ์ ของผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs
3. มีเจตคตที่ดีต่อการประกอบการธุรกิจ
4. สามารถเขียนผังมโนทัศน์เกี่ยวกับบุคลิก คุณลักษณะ คุณสมบัติ อุดมการณ์ และกลยุทธ์
ของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs
สาระสำคัญ (องค์ความรู้)
บุคลิกภาพ คุณลักษณะ คุณสมบัติ อุดมการณ์ และ กลยุทธ์ ของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพต่อไป
เนื้อหาสาระ
-
บุคลิกภาพ และคุณลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs
-
คุณสมบัติ อุดมการณ์ และกลยุทธ์ ของผู้ประกอบการธุรกิจ ขนาดกลาง และขนาดย่อม SMEs
คุณลักษณะของนักธุรกิจ
คุณลักษณะของนักธุรกิจหรือบุคลิกภาพของนักธุรกิจ
หมายถึง ลักษณะ ท่าทาง หน้าตา การแต่งกาย การวางตัว ความเฉลียวฉลาด
และไหวพริบในการดำเนินกิจการของนักธุรกิจ
นักธุระกิจควรมีคุณสมบัติดังนี้
1. มีการแต่งกายที่สุภาพ สะอาด เรียบร้อย เหมาะสมกับเวลาและโอกาส
2. มีอัธยาศัยดี ยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่เสมอ
3. มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าคิด กล้าทำ และกล้าตัดสินใจ อย่างมีเหตุผล
โดยไม่หวั่นกลัวต่อการประสบความล้มเหลวในการดำเนินกิจการ
4. เป็นผู้มีไหวพริบดี สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ลุล่วงไปได้
โดยมีความเสียหายน้อยที่สุด และไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินปัญหา
5. เป็นผู้ฟังและผู้พูดที่ดี เพื่ออำนวยประโยชน์ในด้านการสื่อสารและติดต่อค้าขาย
6. เป็นผู้มองการณ์ไกล หมั่นศึกษาและหาประสบการณ์
เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจเพิ่มเติมอยู่เสมอ
7. มีความอดทน มุมานะในการทำงาน และมีความปรารถนาอย่างแรงกล้า
ที่จะปฏิบัติงานให้บรรลุความสำเร็จดังที่ตั้งเป้าหมายไว้
8. มีความซื่อสัตย์ในการให้บริการ หรือผลิตสินค้าให้อยู่ในมาตรฐานที่ตั้งไว้
ไม่ปลอมแปลงปลอมปน หรือใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีคุณภาพไม่ดี
ในการผลิตสินค้าหรือให้บริการเพื่อหวังผลประโยชน์
9. มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า คู่ค้า พนักงานในองค์กร และสิ่งแวดล้อม
ตลอดจนมีความเมตตากรุณา การต้อนรับยินดี และรู้จักการเสียสละ
โดยมีแนวปฏิบัติดังต่อไปนี้
9.1 มีความพร้อมที่จะรับผิดชอบต่อผลที่เกิดจากการใช้สินค้าหรือบริการ
ของลูกค้าและคู่ค้า ยินดีที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
โดยเห็นแก่ความถูกต้องยุติธรรมเป็นสำคัญ
9.2 ปฏิบัติตามกฎหมาย เช่น กฎหมายแรงงาน และกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
อย่างเคร่งครัด โดยลดการเอารัดเอาเปรียบคนงานและผู้บริโภค
จ่ายค่าแรงงาน และสวัสดิการในการบริโภคตามที่กฎหมายกำหนด
9.3 สร้างงานที่มีการจ้างแรงงานสูง เช่น งานก่อสร้าง งานการเกษตร และงานให้
บริการต่าง ๆ แม้ว่างานเหล่านี้ในแง่ธุรกิจอาจให้ผลตอบแทนไม่สูงนัก แต่ก็เป็น
การช่วยสังคมให้มีอัตราการว่างงานน้อยลง
9.4 กำหนดราคาสินค้าหรือบริการให้เหมาะสม ไม่ควรกำหนดราคาสูงไปเพื่อ
หวังผลกำไรหรือไม่ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าในขณะที่เกิดเภทภัยต่าง ๆ
9.5 ป้องกันมลภาวะเป็นพิษทางด้านน้ำ อากาศและเสียงจากธุรกิจ
อุตสาหกรรม โดยมีระบบการกำจัดหรือควบคุมให้ถูกต้องและเหมาะสม
9.6 ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนด้านการศึกษา ทั้งสถาบันของรัฐและเอกชนตาม
สมควรซึ่งทำได้โดยให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์
ให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ให้ความอนุเคราะห์สถานที่ฝึกงานแก่นักเรียนนักศึกษา
หรือเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิไปบรรยายให้นักศึกษาฟังในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น
9.7 ให้ความร่วมมือในด้านสุขภาพอนามัย ทั้งของพนักงานในสังกัดและบุคคลทั่ว
ไปตามโอกาสอันสมควร ตลอดจนสนับสนุนด้านสันทนาการและกิจกรรมต่าง ๆ
ของสังคม เช่น กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ของลูกเสือชาวบ้าน กิจกรรมการกุศล
เป็นต้น
อุดมการณ์ซึ่งนักธุรกิจพึงมี ได้แก่
1. หมั่นประกอบการดี และประพฤติตนเป็นคนดี
2. มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยปฏิบัติให้สอดคล้องกับประโยชน์ของคนทั่วไป
3. มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน
4. ดำรงไว้ซึ่งชื่อเสียงและยึดถือปฏิบัติตามข้อบังคับของสมาคมการจัดการธุรกิจ
แห่งประเทศไทย
5. ละเว้นการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว แต่ต้องปฏิบัติให้บรรลุวัตถุ
ประสงค์ของกิจการ โดยคำนึงถึงข้อปฏิบัติของการจัดการที่ดี
6. ละเว้นการปฏิบัติที่มีอคติต่อบุคคลอื่น ต้องตระหนักถึงศักดิ์ศรีความเสมอภาค
ของกลุ่มและบุคคล
กลยุทธ์ในการประกอบธุรกิจ
การประกอบธุรกิจใด ๆ ก็ตาม อยู่ในสภาวการณ์ที่มีความเสี่ยงทั้งสิ้น เพราะอาจ
ประสบกับความล้มเหลวได้ตลอดเวลา ดังนั้นผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อม
เพื่อรับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยมีแนวทางต่อไปนี้คือ
1. รู้ศักยภาพของตนเอง การประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้นั้น
ผู้ประกอบการควรจะต้องรู้ระดับความสามารถของตนเอง
ทั้งในเรื่องทักษะและความชำนาญด้านการบริหารจัดการธุรกิจ เช่น การบัญชี
การตลาด และการขาย รวมถึงการบริหารงานบุคคลซึ่งเป็นพนักงานในองค์กร
ตลอดจนสำรวจข้อดีและข้อเสียของตนเอง
เพื่อจะได้ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาให้ดีขึ้น
2. รู้ตลาดสินค้าหรือบริการและลูกค้า การมีแผนการตลาดที่ดีเป็นปัจจัยนำไป
สู่ความสำเร็จ ดังนั้นการรู้ข้อมูลเกี่ยวกับตลาดสินค้าหรือบริการและลูกค้าของตน
เอง จะทำให้สามารถวิเคราะห์และเข้าใจถึงสถานการณ์ปัจจุบันในเรื่องแนวโน้ม
ความต้องการสินค้าหรือบริการ ปัญหาหรืออุปสรรคในการดำเนินกิจการ โอกาสใน
การเข้าสู่ตลาด การเลือกทำเลที่ตั้งและกลุ่มเป้าหมาย วิธีขายสินค้า การกำหนด
ราคาสินค้าและบริการ ตลอดจนวิธีการส่งเสริมการขาย เพื่อให้เกิดผลดีต่อกิจการ
และสามารถสนองตอบตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี
3. รู้สภาพการแข่งขันและคู่แข่ง ผู้ประกอบการจะต้องรู้จักคู่แข่งทางการค้า ซึ่ง
หมายถึงผู้ที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกับเรา ทั้งในด้านทำเลที่ตั้ง
ของกิจการ รวมถึงจุดเด่นของสินค้าและบริการนั้น ๆ เพื่อที่จะได้นำมาเป็นข้อมูล
ในการพัฒนาสินค้าและบริการของตนเองให้เป็นที่นิยมของลูกค้ามากกว่า
4. รู้นโยบายส่งเสริมจาภภาครัฐและเอกชน โดยการหาข้อมูลเกี่ยวกับแหล่ง
ให้การส่งเสริมการค้าและการลงทุน หรือหน่วยงานที่ให้บริการเพื่อสนับสนุนธุรกิจ
ต่าง ๆ เช่น กระทรวง ทบวง กรม สถาบันการศึกษา องค์กรเอกชน บรรษัทเงินทุน
หรือธนาคาร เพื่อที่จะได้ทราบว่าในช่วงระยะเวลานั้น ๆ หน่วยงานใดสนับสนุนให้
ประกอบธุรกิจประเภทใดบ้าง จึงจะสามารถผลิตสินค้าหรือบริการให้ตรงกับความ
ต้องการได้
5. รู้แนวทางการวางแผนการเงินในระยะยาว เพื่อป้องกันความผิดพลาด
ในการดำเนินธุรกิจโดยจะต้องวางแผนเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการประกอบการ มีเงิน
สำรองสำหรับการพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้า และใช้แก้ไขวิกฤตการณ์ทางการ
เงินที่คาดไม่ถึง ตลอดจนสามารถรับภาระในการกู้ยืมเงินได้โดยไม่เดือดร้อน
6. รู้วิธีการทำบัญชี เพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับตรวจสอบค่าใช้จ่ายในกิจการ
อันได้แก่รายรับ รายจ่าย ภาษี กำไร และขาดทุน ซึ่งจะนำไปใช้ในการเปรียบเทียบ
รายได้ของปีปัจจุบันกับปีที่ผ่านมาว่าผลการบริหารงานและเป้าหมายด้านความ
สำเร็จแตกต่างกันอย่างไร หากผู้ประกอบการมีความสามารถในการทำบัญชีก็จะ
ช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ และสามารถวางแผนการ
เติบโตของธุรกิจได้ในอนาคตได้
7. รู้วิธีบริหารงานให้มีประสิทธิภาพในทุกสถานการณ์ โดยใช้ทักษะในด้าน
ความเป็นผู้นำที่ดี สามารถควบคุมและจูงใจให้ทีมงานทำงานได้ตรงตามเป้าหมาย
มีความยืดหยุ่นในการทานสามารถเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส และพร้อมรับมือกับ
สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ
8. รู้วิธีขายสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เพราะคุณภาพของสินค้าและบริการ
เป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความสำเร็จของกิจการ ถ้าสินค้าหรือบริการไม่เป็นที่พอใจของ
ลูกค้า ลูกค้าก็จะไม่มาซื้อสินค้าอีก หรืออาจนำไปบอกต่อทำให้ธุรกิจเกิดความ
เสียหาย ดังนั้นจึงควรพัฒนาและปรับปรุงสินค้าหรือบริการให้ตรงตามความต้อง
การของลูกค้าหรือผู้บริโภคอยู่เสมอ
9. รู้วิธีการเลือกบุคลากรมาร่วมงาน เจ้าของกิจการควรคัดเลือกและจัด
บุคลากรให้เหมาะสมกับลักษณะงาน โดยเมื่อสังเกตเห็นว่าผู้ร่วมงานคนใดมีความ
ถนัดหรือชำนาญทางด้านใดก็จัดสรร ให้ทำงานในตำแหน่งหน้าที่นั้น ๆ และควรมี
การฝึกอบรมก่อนปฏิบัติงานจริง เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงาน นอกจากนี้
เจ้าของกิจการควรหาวิธีจูงใจให้ผู้ร่วมงานมีกำลังใจในการปฏิบัติ งานเพื่อให้ได้
ผลงานที่มีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้
10. เลือกทำเลที่ตั้งกิจการได้เหมาะสม โดยพิจารณาจากชนิดหรือลักษณะ
ของสินค้าหรือการบริกาและกลุ่มเป้าหมายเป็นหลักการมากกว่าความสะดวกสบาย
ส่วนตัวของเจ้าของกิจการ และควรเป็นสถานที่จอแจ คือ มีทั้งคนเดินถนนและรถ
อยู่ในย่านธุรกิจ และมีสถานที่จอดรถ นอกจากนั้นควรพิจารณาถึงค่าเช่าสถานที่ มี
บริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งผลิตและกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย มีความสะดวกในการขนส่ง
สินค้าและบริการ ตลอดจนเป็นไปตามเขตพื้นที่ที่กฎหมายกำหนดไว้เพื่อการขยาย
ธุรกิจในอนาคต

ขอบคุณข้อมูล http://madi.myreadyweb.com/article/category-49782.html